ศิริราชร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5 - All Miles

Breaking

Home Top Ad

Sunday, March 10, 2024

ศิริราชร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5


เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ กรุงเทพมหานคร จัดเวทีเสวนา หัวข้อ “ศิริราชใส่ใจคุณทุกลมหายใจ” โดยเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังเสวนา ประเด็นต่างๆ จากหลากหลายหน่วยงานในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5


ดร. ชาติวุฒิ วังวล
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวถึงการขับเคลื่อนงานทางด้านการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5 ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการทำงานด้านการขับเคลื่อนฝุ่นละออง PM 2.5 เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ดังนั้นควรเร่งดำเนินการ โดย สสส. ดำเนินการขับเคลื่อนให้มีเครือข่ายที่หลากหลายในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ทั้งทางด้านการขับเคลื่อนทางกฎหมาย การขับเคลื่อนภาคประชาสังคม และการเสริมสร้างวิธีการที่ลดปัญหาเช่น การเผาป่า หรือ ปัญหาในสังคมเมืองจากมลพิษจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงยานยนต์ รวมถึงการดำเนินการโรงเรียนสู้ฝุ่น ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่า “เรื่องฝุ่นไม่ใช่เรื่องของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข หรือกรมตำรวจ แต่เป็นเรื่องของทุกคนในสังคม”


ศ. นพ. อภิชาติ อัศวมงคลกุล
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวเปิดงานเสวนา ในประเด็น การขับเคลื่อนงานด้านการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 โดยกล่าวถึง พันธกิจในการดำเนินการดูแลสุขภาพซึ่งไม่ได้ดูเพียงเฉพาะโรคและการเจ็บป่วย แต่ในฐานะคณบดี มีหน้าที่ดูแลประชาชน รวมถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งจากทั่วประเทศมีถึง 11 ล้านคนได้รับผลกระทบ จากฝุ่นละออง PM 2.5 ปัญหาส่วนใหญ่ในสังคมเมืองเกิดจากการก่อสร้าง การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง รวมถึงปัญหาโลกเดือด ซึ่งน่าเป็นกังวลต่อลูกหลานในอนาคต ศิริราชจึงเป็นส่วนนึงของเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานด้านการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จากการขับเคลื่อนจากหลายๆด้าน โดยหวังว่าทำ จะเกิดการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องจริงจัง รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างยั่งยืน รวมถึงใช้กฎหมายอย่างเข็มแข็ง


“การจัดการโดยคำนึงถึงทุกมิติ เพื่อให้ประเทศไทยมีสิทธิในการทวงคืนอากาศสะอาด เพราะอากาศบริสุทธิ์ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับตั้งแต่แรกคลอด” คุณจักรพล ตั้งสุทธิธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5) ที่มีผลต่อสุขภาพจากมุมมองรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกระบวนการพิจารณา รายละเอียดมาตราในร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด โดยพิจารณาจากผู้ได้รับผลกระทบทุกภาคส่วน เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติประเด็นในประเทศไทย รวมถึงการจัดการปัญหาข้ามพรมแดน โดย PM 2.5 นั้นเป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นให้แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน


การเสวนารายประเด็น โดย รศ. นพ. นิธิพัฒน์ เจียรกุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำเสนอในประเด็น ภาพรวมของผลกระทบจาก PM 2.5 และ พรบ. อากาศสะอาด โดยกล่าวถึง ประเด็นนโยบายในการเลือกตั้งที่ผ่านมา พบว่าทุกพรรคพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขนาดนี้ รวมถึงภาคประชาชนให้ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลของมลพิษในอากาศ (PM2.5, SO2, CO) ส่งผลให้มีการเจ็บป่วยด้วยไข้หวัดและปอดอักเสบเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่โดยเฉพาะเมืองใหญ่ และเมื่อวิเคระห์ข้อมูลการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพองโดยการ mapping กับค่าฝุ่นละออง พบว่าสอดคล้องกัน 

และในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น เมื่อศึกษาข้อมูลย้อนหลังในแต่ละเขต พบว่า ในเขตเมืองชั้นใน เช่น เขตปทุมวัน เขตดินแดง นั้น มีวันที่อากาศอยู่ในระดับสีแดง เฉลี่ย ประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งบางคนอาจเห็นว่าเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ไม่ได้สังเกต แต่ปัญหานั้นมันเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง ทำให้สัมผัสปัจจัยเลี่ยงอย่างต่อเนื่อง แล้วเราจะทำให้เป็นจริงได้อย่างไร ทั้งทางด้านการควบคุมสิ่งแวดล้อม การป้องกันส่วนบุคคล เพราะคนรุ่นต่อไปต้องอยู่กับสิ่งที่เราสร้างไว้ พ.ร.บ. อากาศสะอาด จึงถือเป็นแผนแม่บทในการควบคุมมลพิษทางอากาศ


การเสวนาประเด็น ผลกระทบจาก PM 2.5 ต่อสุขภาพ โดย ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำเสนอ ประเด็น PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งเล็กขนาดที่ สามารถเข้าถึงเนื้อปอด โดยสามารถผ่านการคัดกรองของปอด จนเข้าสู่หลอดเลือด ซึ่งทันทีที่เข้าสู้หลอดเลือดนั้นจะเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ และก่อให้เกิดการอักเสบ ซึ่งเมื่อการอักเสบเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังก็จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะนั้นๆ

ในอดีต คนไข้มะเร็งปอด มีอัตราการตายสูงสุดจากผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด ปัจจุบัน คนไข้มะเร็งปอดที่ไม่ได้สูบบุหรี่ Lung cancer in never smokers (LCINS) สูงเป็นอันดับ 5 จากการรณรงค์หรือการปรับความคิดทำให้ปัจจุบันคนไม่สูบบุรี่นั้นเพิ่มมาก แต่ในทางตรงกันข้าม สัดส่วนการเกิดมะเร็งปอดในกลุ่มที่ไม่ได้สูบบุหรี่นั้นเพิ่มขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบทางระบาดวิทยา คนไข้ในประเทศที่มีมลพิษทางอากาศสูง โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียจะมีสัดส่วนคนไข้ที่เป็นมะเร็งปอดสูง รวมถึง การศึกษาอื่นๆ ที่รายงานว่า PM2.5 เพิ่มอัตราการเสียชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว และจากการศึกษาพบว่ากับการอาศัยในพื้นที่ ที่มี PM 2.5 สูง อัตราการตายสูง

การประยุกต์ใช้ค่าดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่ กรุงเทพฯ โดย รศ. ดร. สุวิมล กาญจนสุธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันมีการใช้แอปพลิเคชันตรวจวัดคุณภาพอากาศที่หลากหลาย บางครั้งผลการตรวจวัดเท่ากัน แต่ค่าสีแตกต่างกัน ซึ่งปกติ มีการกำหนดที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ และค่ามาตราฐานนั้นส่งผลต่อระดับการสื่อสารในสังคม


การหาค่า AQI ของแต่ละประเทศหรือองค์กร จะใช้วิธีการที่ต่างกันในรายละเอียด เช่น ชนิดและจํานวนสารมลพิษ การแบ่งช่วงชั้นที่จะก่อผลกระทบ การกําหนดสีของแต่ละช่วงชั้น ค่ามาตรฐานของสารมลพิษ โดยค่า AQHI นั้นจะมีการนำผลกระทบทางสุขภาพเข้ามาวิเคราะห์และนำเสนอ ดัชนีซึ่งมีการอ้างอิงต่อสุขภาพ ถึงเวลาให้ทางเลือก ข้อมูลความเสี่ยงเชิงสุขภาพ ให้แก่ประชาชนไทยหรือยัง? โดยในกรุงเทพมหานครนั้น ทางคณะผู้วิจัย ได้นำข้อมูลมลพิษอากาศและอุตุนิยมวิทยา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสารมลพิษและกลุ่มโรค และได้มีการนำเสนอค่าฝุ่นละอองและการรายงานค่า AQHI ในพื้นที่กรุงเทพผ่านเว็บไซต์ https://aqhi.mahidol.ac.th/

นางสาววรนุช สวยค้าข้าว รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม นำเสนอประเด็น การแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงแนวโน้มสถานการณ์ฝุ่นละอองในสังคมเมือง พบว่าในปี 2566 มีวันที่ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน จำนวน 144 วัน ซึ่ง ที่ผ่านมา ทั้งนี้ในด้านการแก้ไขปัญหา ทาง กทม. มีแผนการเฝ้าระวัง และกำกับต้นต่อของการเกิดฝุ่นละออง ทั้งด้านการแจ้งเตือนค่าฝุ่นละอองสูง ผ่านช่องทาง LINE และ การควบคุมสถานประกอบการ พื้นที่ก่อสร้าง วัด ศาลเจ้า ที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง รวมถึงการดำเนินการทางกฎหมาย โดยอ้างอิงตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข ซึ่งกรุงเทพมหานครมีความสามารถในการควบคุมมลพิษในพื้นที่ กทม. ซึ่งมีการขอความร่วมมือกับเครือข่ายมากกว่า 100 แห่ง

ดร. เจน ชาญณรงค์ ประธานชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล นำเสนอประเด็น “ข้อเสนอยุทธศาสตร์แก้ปัญหาวิกฤตมลพิษอากาศภาคเหนือ” การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง จากพลังประชาชน โดยในภาคเหนือ ปัญหาไฟป่านั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผ่านมาเราเผชิญปัญหาไฟป่าอย่างต่อเนื่องในทุกปี ซึ่งจากการสืบค้นสาเหตุของฝุ่นละออง พบว่า เกิดจากการเผาป่า ในพื้นที่ดอยหลวง แม่ปิง สาละวิน โดยเฉพาในพื้นที่ ป่าอุทยานแม่ปิง อมก๋อย แม่ตื่น ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่มีคนลักลอบจุดไฟ เผาป่า เพื่อไล่ตอนสัตว์ป่า โดยการแก้ปัญหาไฟป่า นั้นอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ หาสาเหตุปัญหา เข้าไปพูดคุยกับผู้ที่เข้าไปเผาป่า ซึ่งพบว่าปัญหาไฟป่านั้นเข้าไปพัวพันกับหลายเรื่อง ทั้งทางด้านปัญหายาเสพติด จึงต้องร่วมมือกับหน่วยงานฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายปกครองแก้ไขปัญหา จากความร่วมมือ ทุกภาคส่วน และในภาคเหนือปีนี้ดีกว่าที่ผ่าน จากการอาศัยความเข้มแข็งของชุมชน และการสนับสนุนของรัฐบาล

ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการแก้ไขปัญหา PM2.5 โดย ศ. (วุฒิคุณ) ดร. นพ. พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กล่าวว่าจากสถานการณ์การค่าฝุ่นละอองที่สูงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้คนไทยสูญเสียปีแห่งการสุขภาพดี โดย สสส. ยึดหลักการ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่ง ได้แก่ การเสนอนโยบาย พัฒนางานวิชาการ และหนุนเสริมประชาสังคม 

ซึ่งดำเนินการโดย 4 พลัง ได้แก่ 1.พลังนโยบาย ซึ่งนโยบายนั้นไม่ได้เพียงอาศัยแต่ องค์กรภาครัฐ แต่รวมถึงทุกบริบททางสังคมในการขับเคลื่อน พ.ร.บ.อากาศสะอาด 2.พลังสังคม สสส. สนับสนุนโครงการและเครือข่ายประชาชนให้มีการขับเคลื่อนพลังสังคม เช่นเครือข่ายสภาลมหายใจ รวมถึงโครงการต่างๆ เช่น ห้องเรียนสู้ฝุ่น ป่าชุมชน โครงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง 3.พลังปัญญา การร่วมมือจากสถานศึกษา รวมถึงผู้เชี่ยวชาญทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ 4.สื่อสารสังคม ทาง สสส. ได้พัฒนาสื่อความรู้ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบ

ซึ่งการขับเคลื่อนร่วมมือแก้ไขปัญหาฝุ่นมลพิษภาคเหนือ ก็มีการขับเคลื่อนในพื้นที่อื่นอย่างต่อเนื่อง รวมถึง กทม ซึ่งจะมีการจัดงานในช่วงปลายปี ทั้งนี้ การขับเคลื่อนงานด้านการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 นั้น อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

No comments:

Post a Comment

Pages