วันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานแถลงข่าวเปิด “โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน พร้อมสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมทุกมิติในระดับพื้นที่ โดยมี นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศาสตราจารย์ ดร. นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบาย รมว.พม. พร้อมด้วย นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้บริหารกระทรวง พม. เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ
นายวราวุธ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตของโครงสร้างประชากร โดยสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางกับอัตราการเกิดใหม่ของประชากรวัยเด็กและประชากรวัยแรงงานที่มีจำนวนลดลง โดยในปี 2566 พบว่า ประเทศไทย เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่เด็กเกิดใหม่มีเพียง 5.18 แสนคน ส่งผลกระทบต่ออนาคตของประเทศในการเผชิญกับปัญหาภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ รวมถึงปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล
กระทรวง พม. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการสร้างระบบ กลไก และโครงสร้างพื้นฐานในการดูแลและคุ้มครองผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่น โดยเป้าหมายสำคัญมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขที่บ้านของตนเอง (Ageing in Place) ซึ่งครอบครัวเป็นกลไกสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงชุมชนท้องถิ่น อาทิ รพ.สต. อปท. อาสาสมัคร ชมรมผู้สูงอายุ เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานของผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในการทำหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุครอบคลุมในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2567 กระทรวง พม. ได้ดำเนินการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน จำนวน 19 พื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี สิงห์บุรี สกลนคร อุบลราชธานี สงขลา และปัตตานี มีผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 35 คน
นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2567 กระทรวง พม. ได้ดำเนินการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน จำนวน 19 พื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี สิงห์บุรี สกลนคร อุบลราชธานี สงขลา และปัตตานี มีผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 35 คน
ขณะนี้อยู่ระหว่างฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิ จำนวน 240 ชั่วโมง โดยมุ่งหวังให้ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการปกป้องคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง จำนวนทั้งสิ้น 73,642 คน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุทั้งหมดในพื้นที่นำร่อง และในปี 2568 ได้มีแผนขยายผลโครงการฯ จำนวน 3,886 พื้นที่ ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ และจะมีการสร้างผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 7,772 คน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลและคุ้มครองทางสังคมจำนวนทั้งสิ้น 6,174,854 คน โดยระยะยาว 4 ปี ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดระบบการคุ้มครองผู้สูงอายุด้วยผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุครอบคลุมให้ทั่วทุกพื้นที่ จำนวน 75,032 พื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 150,064 คน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลและคุ้มครอง จำนวนทั้งสิ้น 15,900,000 คน
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) มีความยินดีที่จะเปิดตัวโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งวันนี้เราได้รับความร่วมมือจากพี่น้องทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน และใต้ เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ในการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เราทำงานในหลายจังหวัด ในการที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปในแต่ละชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยของเราเป็นสังคมสูงอายุเต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว และในอนาคตปริมาณผู้สูงอายุในประเทศไทยก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) มีความยินดีที่จะเปิดตัวโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งวันนี้เราได้รับความร่วมมือจากพี่น้องทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน และใต้ เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ในการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เราทำงานในหลายจังหวัด ในการที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปในแต่ละชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยของเราเป็นสังคมสูงอายุเต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว และในอนาคตปริมาณผู้สูงอายุในประเทศไทยก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ดังนั้นการที่ทุกฝ่ายจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายและจิตใจ มิติทางด้านสังคม ด้านที่พักอาศัย รวมไปถึงเรื่องเทคโนโลยีต่างๆให้กับผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเราในวันนี้ ได้รับการฝึกอบรมและจะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไปขยายต่อในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทั้งหมดที่เราทำในวันนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่กระทรวง พม. ได้ทำ Workshop ไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมิติการดูแลผู้สูงอายุนั้น เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แบ่งเบาภาระของคนรุ่นใหม่ ที่มีความกังวลว่าคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้สูงอายุในครอบครัวนั้น ใครจะเป็นผู้ดูแล
และถ้าหากว่าจะต้องเลือกระหว่างการมีบุตรและการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวนั้น คนรุ่นใหม่ในวันนี้เลือกที่จะดูแลผู้สูงอายุก่อน ดังนั้น การที่กระทรวง พม. ได้เริ่มโครงการนี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่แบ่งเบาภาระและสร้างความมั่นใจให้กับคนรุ่นใหม่ในการที่จะมีครอบครัวและมีบุตรต่อไปในอนาคต และเป็นการแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่ประเทศไทยกำลังจะประเชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
ด้านสถานการณ์ผู้สูงอายุในไทย ขณะนี้เรามีผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 13 ล้านคน คาดว่าอีกประมาณ 4-5 ปี จากนี้ไป ประเทศไทยจะมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มเป็นประมาณ 15-17 ล้านคน แต่ไม่เกิน 10 ปี นี้เราจะมีผู้สูงอายุเกือบ 20 ล้านคน ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุขั้นสุดยอดเหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่น และการที่เราเป็นสังคมผู้สูงอายุขั้นสุดยอดนั้น จะก่อสร้างภาระให้กับคนวัยทำงานอย่างมหาศาล เพราะว่าอัตราส่วนในการแบกรับผู้สูงอายุจะกลายเป็นคนทำงานเพียงแค่สองคนต่อผู้สูงอายุหนึ่งคนเท่านั้น ดังนั้น การดูแลให้ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์และแข็งแรง ก็จะเป็นการแบ่งเบาภาระทางด้านงบประมาณ ด้านสาธารณสุข และบุคลากรทางสาธารณสุข และในทางเดียวกันนั้นก็ยังสามารถเพิ่มผลผลิต สร้างศักยภาพให้ผู้สูงอายุนั้นเป็นกลไกสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับรากหญ้าขึ้นมา
สำหรับเจ้าหน้าที่ตอนนี้จุดเริ่มต้นโครงการ มีอยู่ 36 คน กระจายกันอยู่ทั่วแต่ละจังหวัดในประเทศไทย แต่ยังไม่ครบทุกจังหวัด เนื่องจากเพิ่งเป็นการเริ่มต้นโครงการ แต่เป้าหมายของเรานั้นจะต้องมีให้ครบทั้ง 76 จังหวัด ให้ครบทุกอำเภอ และแต่ละอำเภอนั้นอย่างต่ำก็จะมีเจ้าหน้าที่ 2,000-4,000 คน ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของเรานั้นจะเพิ่มปริมาณขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งปีหน้านั้น อาจจะมีถึง 6,000 คน แต่ท้ายที่สุดแล้ว ต้องประมาณกว่า 10,000 คน ที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ของเราก็มีหน้าที่ในการเข้าไปตรวจเยี่ยมให้ความรู้และขยายผลต่อไป
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. จะมีเจ้าหน้าที่ พมจ. ในทุกจังหวัด ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ในการดูแลคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุ และที่สำคัญโครงการนี้ จะเป็นกลไกสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่ตนได้พูดไว้ สำหรับประชาชนที่สนใจเข้ามาเป็นเครือข่ายนักบริบาลผู้สูงอายุ สามารถติดต่อได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) โดยมีค่าตอบแทนอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเราอยากจะแสดงให้เห็นว่าการดูแลผู้สูงอายุนั้นสามารถทำเป็นอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรม 240 ชั่วโมง จะมีการสอนทั้ง 5 มิติ เมื่อมีภาคทฤษฎีแล้ว ต้องมีภาคปฏิบัติด้วยเช่นกัน
#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #พม #แถลงข่าว #บริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน #การดูแลผู้สูงอายุ
ด้านสถานการณ์ผู้สูงอายุในไทย ขณะนี้เรามีผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 13 ล้านคน คาดว่าอีกประมาณ 4-5 ปี จากนี้ไป ประเทศไทยจะมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มเป็นประมาณ 15-17 ล้านคน แต่ไม่เกิน 10 ปี นี้เราจะมีผู้สูงอายุเกือบ 20 ล้านคน ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุขั้นสุดยอดเหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่น และการที่เราเป็นสังคมผู้สูงอายุขั้นสุดยอดนั้น จะก่อสร้างภาระให้กับคนวัยทำงานอย่างมหาศาล เพราะว่าอัตราส่วนในการแบกรับผู้สูงอายุจะกลายเป็นคนทำงานเพียงแค่สองคนต่อผู้สูงอายุหนึ่งคนเท่านั้น ดังนั้น การดูแลให้ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์และแข็งแรง ก็จะเป็นการแบ่งเบาภาระทางด้านงบประมาณ ด้านสาธารณสุข และบุคลากรทางสาธารณสุข และในทางเดียวกันนั้นก็ยังสามารถเพิ่มผลผลิต สร้างศักยภาพให้ผู้สูงอายุนั้นเป็นกลไกสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับรากหญ้าขึ้นมา
สำหรับเจ้าหน้าที่ตอนนี้จุดเริ่มต้นโครงการ มีอยู่ 36 คน กระจายกันอยู่ทั่วแต่ละจังหวัดในประเทศไทย แต่ยังไม่ครบทุกจังหวัด เนื่องจากเพิ่งเป็นการเริ่มต้นโครงการ แต่เป้าหมายของเรานั้นจะต้องมีให้ครบทั้ง 76 จังหวัด ให้ครบทุกอำเภอ และแต่ละอำเภอนั้นอย่างต่ำก็จะมีเจ้าหน้าที่ 2,000-4,000 คน ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของเรานั้นจะเพิ่มปริมาณขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งปีหน้านั้น อาจจะมีถึง 6,000 คน แต่ท้ายที่สุดแล้ว ต้องประมาณกว่า 10,000 คน ที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ของเราก็มีหน้าที่ในการเข้าไปตรวจเยี่ยมให้ความรู้และขยายผลต่อไป
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. จะมีเจ้าหน้าที่ พมจ. ในทุกจังหวัด ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ในการดูแลคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุ และที่สำคัญโครงการนี้ จะเป็นกลไกสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่ตนได้พูดไว้ สำหรับประชาชนที่สนใจเข้ามาเป็นเครือข่ายนักบริบาลผู้สูงอายุ สามารถติดต่อได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) โดยมีค่าตอบแทนอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเราอยากจะแสดงให้เห็นว่าการดูแลผู้สูงอายุนั้นสามารถทำเป็นอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรม 240 ชั่วโมง จะมีการสอนทั้ง 5 มิติ เมื่อมีภาคทฤษฎีแล้ว ต้องมีภาคปฏิบัติด้วยเช่นกัน
#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #พม #แถลงข่าว #บริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน #การดูแลผู้สูงอายุ
No comments:
Post a Comment