จากภูมิปัญญาที่ถูกส่งต่อจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น ศิลปะสิ่งทอที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ “ผ้าบาติก ”อันสะท้อนถึงสุนทรียศาสตร์ทางศิลปะของมนุษยชาติในการถ่ายทอดความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมลงบนผืนผ้าได้อย่างมีอัตลักษณ์ ทุกลวดลายและสีสันล้วนเปี่ยมไปด้วยที่มาทางประวัติศาสตร์และความหมายและอันลึกซึ้ง จึงควรค่าแก่การสนับสนุนและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล
เพื่อตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ผ้าบาติกในพื้นที่ภาคใต้ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงจัดโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล โดย มุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนารูปแบบและยกระดับศักยภาพผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก เพื่อให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคนิคที่หลากหลาย พร้อมต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนเป็นการสร้างโอกาสในการขยายตลาดเชิงพาณิชย์สู่ตลาดในและต่างประเทศ และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้โครงการเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด อย่างแท้จริง
กรมการพัฒนาชุมชน จึงจัดกิจกรรมทดสอบตลาดการประชาสัมพันธ์ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม 2566 ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากไอคอนคราฟต์ พื้นที่แห่งงานฝีมือสุดสร้างสรรค์ของคนไทย
ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทดสอบตลาด การประชาสัมพันธ์ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย คุณกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย โดยมีนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงานฯ พร้อมด้วยนางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากที่ปรึกษาโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” อาทิ นางศรินดา จามรมาน นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารโว้กประเทศไทย นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นายภูภวิศ กฤตพลนารา นายพลพัฒน์ อัศวะประภา ร่วมในพิธีฯ
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงตระหนักถึงภูมิปัญญาพื้นถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทรงเสด็จไปเยี่ยมและให้กำลังใจกลุ่มทอผ้าในภูมิภาคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคใต้ ทรงเสด็จทอดพระเนตรโครงการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถกรรมชุมชน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ทรงพระราชทาน ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” ซึ่งเป็นลายผ้าที่พระองค์ ทรงศึกษาค้นคว้าลวดลายพื้นถิ่นภาคใต้ แล้วนำมาออกแบบผสมผสานกับ “ลายดอกรัก” ที่สื่อถึงความรักและกำลังใจที่พระองค์ทรงสร้างสรรค์ และทรงพระราชทานผ้าบาติกลายพระราชทาน ลายที่ 4 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โปรดเกล้าฯ ให้พัฒนา “ผ้าบาติกลายพระนามาภิไธยสิริกิติ์” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อครั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2503 เพื่อให้มีความร่วมสมัยและเป็นสากล ทรงให้ความสำคัญถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นผ้าผืนงาม เช่น การเขียนลายบาติกทุกแขนง ล้วนเป็นสิ่งที่พระองค์มีพระประสงค์ที่จะสืบสานไว้มิให้สูญหาย ผ่านโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล เพื่อเป็นการต่อยอดการพัฒนาผ้าลายพระราชทาน การพัฒนาทักษะ และองค์ความรู้ด้านผ้าบาติก รวมทั้งผลิตภัณฑ์ผ้าให้มีความทันสมัย ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”
“จากการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยการส่งเสริมช่องทางการตลาด และพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการด้านการตลาด โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย หรือนักออกแบบดีไซเนอร์เสื้อผ้าแฟชั่นผ้าไทยที่มีชื่อเสียง นำมาจัดแสดงและจำหน่าย เพื่อทดสอบตลาด ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถนำบาติกโมเดลนี้ ไปต่อยอด ขยายผล ให้กับกลุ่มบาติกกลุ่มอื่นๆ ที่สนใจในการพัฒนาผ้าบาติก ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดได้” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมฯ
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในเรื่องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย เผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอและการอนุรักษ์ผ้าไทย ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ทำผ้าบาติกหรือประชาชนในชุมชนใกล้เคียงที่มีความสนใจ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าบาติกให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าบาติก หรือประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ 7 กลุ่ม/ราย กลุ่มละ 20 คน รวมจำนวน 140 คน ประกอบด้วย
1) ผู้ประกอบการจากจังหวัดกระบี่ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไฑบาติกเขาคราม
(ไฑบาติก) และ 2) กลุ่มเก๋บาติก
2) ผู้ประกอบการจากจังหวัดนราธิวาส จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผ้าปาเต๊ะ (นินา ปาเต๊ะ) และ 2) กลุ่ม SALOMA (ซาโลมา ปาเต๊ะ)
3) ผู้ประกอบการจากจังหวัดปัตตานี จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มบาติก เดอ นารา 2) กลุ่มยาริง บาติก และ 3) กลุ่มรายาบาติก
การดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาทักษะองค์ความรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 2 พัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทดสอบตลาด การประชาสัมพันธ์ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านระบบ Online และ/หรือวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม และกิจกรรมที่ 4 ติดตามสนับสนุนผู้ประกอบการผ้าบาติก
คุณปารีสา จาตนิลพันธุ์ ผู้บริหารไอคอนคราฟต์ ในฐานะผู้สนับสนุนพื้นที่การจัดงาน กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ไอคอนคราฟต์ เป็นเวทีแสดงศักยภาพและสนับสนุนส่งเสริมผลงานของสุดยอดงานคราฟต์จากทั่วประเทศกว่า 800 แบรนด์ พร้อมให้การสนับสนุนและทำงานร่วมกันกับชุมชนท้องถิ่น จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้คนรักงานคราฟต์อย่างแท้จริง การเปิดพื้นที่จัดนิทรรศการ “บาติกโมเดล” ในครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนในการสืบทอดภูมิปัญญาแห่งงานศิลปะบนผืนผ้า เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และ ต่อยอดสู่การค้าขายในเวทีโลก ซึ่งการสนับสนุนในทุกๆ ครั้ง นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไอคอนคราฟต์ ในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการร่วมกันรังสรรค์ (Co-creation) และการสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Value) ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของไอคอนสยาม ที่ได้นำพาผู้ประกอบการไทยไปสู่เวทีโลก”
ทั้งนี้ภายในงานได้จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาผ้าบาติกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของการสร้างสรรค์ลวดลาย อัตลักษณ์ของผ้าบาติก ตลอดจนขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ โดยมีกลุ่มของชุมชนในโครงการมาแนะนำผลิตภัณฑ์ จำนวน 7 กลุ่ม ได้แก่ เก๋บาติก, SALOMA (ซาโลมา ปาเต๊ะ), วิสาหกิจชุมชนไฑบาติกเขาคราม (ไฑบาติก), กลุ่มผ้าปาเต๊ะ (นินา ปาเต๊ะ), บาติก เดอ นารา, ยาริง บาติก และ รายาบาติก พร้อมด้วยไฮไลท์ผลงานจากศิลปินผู้สร้างสรรค์ผ้าบาติก อาทิ ASAVA (อาซาว่า), ISSUE (อิชชู่), THEATRE (เธียเตอร์) และ WISHARAWISH (วิชระวิชญ์) เป็นต้น
ขอเชิญผู้สนใจร่วมสัมผัสอัตลักษณ์ความเป็นไทยอันงดงามของผ้าบาติก และเรียนรู้กระบวนการรังสรรค์งานศิลปะสิ่งทอ พร้อมสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากกลุ่มชุมชนได้ในงาน “บาติกโมเดล” ระหว่าง 21 ก.ค.-14 ส.ค. 2566 ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม สอบถามเพิ่มเติมโทร.1338 หรือ www.iconsiam.com
ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทดสอบตลาด การประชาสัมพันธ์ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย คุณกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย โดยมีนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงานฯ พร้อมด้วยนางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากที่ปรึกษาโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” อาทิ นางศรินดา จามรมาน นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารโว้กประเทศไทย นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นายภูภวิศ กฤตพลนารา นายพลพัฒน์ อัศวะประภา ร่วมในพิธีฯ
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงตระหนักถึงภูมิปัญญาพื้นถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทรงเสด็จไปเยี่ยมและให้กำลังใจกลุ่มทอผ้าในภูมิภาคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคใต้ ทรงเสด็จทอดพระเนตรโครงการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถกรรมชุมชน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ทรงพระราชทาน ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” ซึ่งเป็นลายผ้าที่พระองค์ ทรงศึกษาค้นคว้าลวดลายพื้นถิ่นภาคใต้ แล้วนำมาออกแบบผสมผสานกับ “ลายดอกรัก” ที่สื่อถึงความรักและกำลังใจที่พระองค์ทรงสร้างสรรค์ และทรงพระราชทานผ้าบาติกลายพระราชทาน ลายที่ 4 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โปรดเกล้าฯ ให้พัฒนา “ผ้าบาติกลายพระนามาภิไธยสิริกิติ์” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อครั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2503 เพื่อให้มีความร่วมสมัยและเป็นสากล ทรงให้ความสำคัญถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นผ้าผืนงาม เช่น การเขียนลายบาติกทุกแขนง ล้วนเป็นสิ่งที่พระองค์มีพระประสงค์ที่จะสืบสานไว้มิให้สูญหาย ผ่านโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล เพื่อเป็นการต่อยอดการพัฒนาผ้าลายพระราชทาน การพัฒนาทักษะ และองค์ความรู้ด้านผ้าบาติก รวมทั้งผลิตภัณฑ์ผ้าให้มีความทันสมัย ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”
“จากการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยการส่งเสริมช่องทางการตลาด และพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการด้านการตลาด โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย หรือนักออกแบบดีไซเนอร์เสื้อผ้าแฟชั่นผ้าไทยที่มีชื่อเสียง นำมาจัดแสดงและจำหน่าย เพื่อทดสอบตลาด ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถนำบาติกโมเดลนี้ ไปต่อยอด ขยายผล ให้กับกลุ่มบาติกกลุ่มอื่นๆ ที่สนใจในการพัฒนาผ้าบาติก ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดได้” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมฯ
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในเรื่องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย เผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอและการอนุรักษ์ผ้าไทย ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ทำผ้าบาติกหรือประชาชนในชุมชนใกล้เคียงที่มีความสนใจ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าบาติกให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าบาติก หรือประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ 7 กลุ่ม/ราย กลุ่มละ 20 คน รวมจำนวน 140 คน ประกอบด้วย
1) ผู้ประกอบการจากจังหวัดกระบี่ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไฑบาติกเขาคราม
(ไฑบาติก) และ 2) กลุ่มเก๋บาติก
2) ผู้ประกอบการจากจังหวัดนราธิวาส จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผ้าปาเต๊ะ (นินา ปาเต๊ะ) และ 2) กลุ่ม SALOMA (ซาโลมา ปาเต๊ะ)
3) ผู้ประกอบการจากจังหวัดปัตตานี จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มบาติก เดอ นารา 2) กลุ่มยาริง บาติก และ 3) กลุ่มรายาบาติก
การดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก “บาติกโมเดล” สู่ตลาดสากล ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาทักษะองค์ความรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 2 พัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทดสอบตลาด การประชาสัมพันธ์ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านระบบ Online และ/หรือวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม และกิจกรรมที่ 4 ติดตามสนับสนุนผู้ประกอบการผ้าบาติก
คุณปารีสา จาตนิลพันธุ์ ผู้บริหารไอคอนคราฟต์ ในฐานะผู้สนับสนุนพื้นที่การจัดงาน กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ไอคอนคราฟต์ เป็นเวทีแสดงศักยภาพและสนับสนุนส่งเสริมผลงานของสุดยอดงานคราฟต์จากทั่วประเทศกว่า 800 แบรนด์ พร้อมให้การสนับสนุนและทำงานร่วมกันกับชุมชนท้องถิ่น จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้คนรักงานคราฟต์อย่างแท้จริง การเปิดพื้นที่จัดนิทรรศการ “บาติกโมเดล” ในครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนในการสืบทอดภูมิปัญญาแห่งงานศิลปะบนผืนผ้า เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และ ต่อยอดสู่การค้าขายในเวทีโลก ซึ่งการสนับสนุนในทุกๆ ครั้ง นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไอคอนคราฟต์ ในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการร่วมกันรังสรรค์ (Co-creation) และการสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Value) ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของไอคอนสยาม ที่ได้นำพาผู้ประกอบการไทยไปสู่เวทีโลก”
ทั้งนี้ภายในงานได้จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาผ้าบาติกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของการสร้างสรรค์ลวดลาย อัตลักษณ์ของผ้าบาติก ตลอดจนขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ โดยมีกลุ่มของชุมชนในโครงการมาแนะนำผลิตภัณฑ์ จำนวน 7 กลุ่ม ได้แก่ เก๋บาติก, SALOMA (ซาโลมา ปาเต๊ะ), วิสาหกิจชุมชนไฑบาติกเขาคราม (ไฑบาติก), กลุ่มผ้าปาเต๊ะ (นินา ปาเต๊ะ), บาติก เดอ นารา, ยาริง บาติก และ รายาบาติก พร้อมด้วยไฮไลท์ผลงานจากศิลปินผู้สร้างสรรค์ผ้าบาติก อาทิ ASAVA (อาซาว่า), ISSUE (อิชชู่), THEATRE (เธียเตอร์) และ WISHARAWISH (วิชระวิชญ์) เป็นต้น
ขอเชิญผู้สนใจร่วมสัมผัสอัตลักษณ์ความเป็นไทยอันงดงามของผ้าบาติก และเรียนรู้กระบวนการรังสรรค์งานศิลปะสิ่งทอ พร้อมสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากกลุ่มชุมชนได้ในงาน “บาติกโมเดล” ระหว่าง 21 ก.ค.-14 ส.ค. 2566 ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม สอบถามเพิ่มเติมโทร.1338 หรือ www.iconsiam.com
No comments:
Post a Comment