อพท. เตรียมบูรณาการ 120 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมรดกโลก สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย -กำแพงเพชร ระยะ 5 ปี (2566-2570) หลัง ท.ท.ช. ไฟเขียวแล้ว รูปแบบทำงานยังคงหลักการพัฒนาตามแนวทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวหลักกระจายสู่ชุมชน ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมครบวงจร สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสะสมรวมภายในปี 2570 เกือบ 3 หมื่นล้านบาท
นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า เตรียมดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมรดกโลกสุโขทัย -ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ระยะ 5 ปี (2566-2570) วางเป้าหมายพัฒนายกระดับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ให้เข้าสู่ 100 แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก หรือ TOP 100 จำนวน 3 แหล่ง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนตามเกณฑ์ CBT Thailand เพิ่มอีก 15 ชุมชน สร้างรายได้ให้มีเพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ยกระดับเมืองและชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมให้มีเพิ่มขึ้น ซึ่งตลอด 5 ปีของแผนจะดำเนินงานรวม 50 โครงการ ภายใต้งบประมาณรวม 712 ล้านบาท ในที่นี่เป็นโครงการที่ดำเนินงานโดย อพท. จำนวน 24 โครงการ รวมวงเงิน 165 ล้านบาท เป้าหมายแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนที่ได้รับการยกระดับแล้วนั้น จะมีศักยภาพที่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสะสมรวมภายในปี 2570 เกือบ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นจังหวัดสุโขทัย ประมาณ 19,403.87 ล้านบาท และ จังหวัดกำแพงเพชร ประมาณ 10,312.85 ล้านบาท
ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมรดกโลกสุโขทัย -ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ระยะ 5 ปี ได้ผ่านความเห็นชอบแล้วจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ หรือ ท.ท.ช. โดยขยายพื้นที่การพัฒนาครอบคลุม 9,515.82 ตารางกิโลเมตร รวม 120 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มขึ้นจากยุทธศาสตร์เดิมที่ครอบคลุมเพียง 1,682 ตารางกิโลเมตร โดย อพท. ยังคงพัฒนาโดยยึดหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council (GSTC)) หลักเกณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย หรือ CBT Thailand และการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของยูเนสโก หรือ UNESCO Creative Cities Network : UCCN) เป็นกรอบการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ใหม่ฉบับนี้ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธ์ศาสตรชาติ 20 ปี ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ และมาตรฐานอย่างบูรณาการทุกภาคส่วน“
ขั้นตอนต่อไปกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะนำแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและโครงการที่บรรจุในแผนยุทธศาสตร์ สำนักงบประมาณจะนำไปจัดสรรงบประมาณประจำปี ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงาน”
แผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้จะเป็นกรอบการทำงานของ อพท. นับจากนี้ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องจากยุทธศาสตร์เดิมที่จะครบวาระในปี 2565 ซึ่งกรอบใหญ่ของการทำงานยังคงใช้ความเป็นเมืองมรดกโลกสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร เป็นศูนย์กลาง และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวให้ขยายวงออกไปสู่ชุมชน มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ตอกย้ำการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน ของยูเนสโก้ ยกระดับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีขีดความสามารถในการรองรับ โดยมีการท่องเที่ยวเป็นกลไกในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและพื้นที่
นอกจากพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น ปัจจุบัน อพท. ยังอยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ 5 ปี ให้กับพื้นที่พิเศษเดิมที่มีอยู่อีก 3 แห่ง ได้แก่ พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทอง โดยจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) อพท. เพื่อเห็นชอบก่อนนำเสนอต่อที่ประชุม ท.ท.ช. และ ครม. ตามลำดับ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2565 เพื่อบรรจุในแผนงบประมาณและแผนการทำงานให้ทันในปีงบประมาณ 2566 ตามที่นายอนันต์ ชูโชติ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) อพท. มอบหมายไว้ โดยก่อนหน้านี้ ท.ท.ช. ได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลยไปแล้ว 1 แห่ง ซึ่งทุกยุทธศาสตร์ในพื้นที่พิเศษของ อพท. จะเป็นแผนระยะ 5 ปี สิ้นสุดแผนในปี 2570 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่พื้นที่และชุมชน พร้อมกับเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวรองกับแหล่งท่องเที่ยวหลัก มุ่งสู่การกระจายรายได้ และการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของ อพท. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทาง BCG Model ด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายการทำงานของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มอบให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเร่งวางแผนการดำเนินงาน เพื่อใช้การท่องเที่ยวช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัสโควิด-19
โดยแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีการทำงานรวม 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการอนุรักษ์ และฟื้นฟูคุณค่าแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2. ด้านการพัฒนาและสืบสานวัฒนธรรม อัตลักษณ์พื้นถิ่น รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปะพื้นบ้านอย่างสร้างสรรค์ 3. ด้านการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการท่องเที่ยว 4. ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมครบวงจร 5. ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายและกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
แผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้จะเป็นกรอบการทำงานของ อพท. นับจากนี้ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องจากยุทธศาสตร์เดิมที่จะครบวาระในปี 2565 ซึ่งกรอบใหญ่ของการทำงานยังคงใช้ความเป็นเมืองมรดกโลกสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร เป็นศูนย์กลาง และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวให้ขยายวงออกไปสู่ชุมชน มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ตอกย้ำการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน ของยูเนสโก้ ยกระดับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีขีดความสามารถในการรองรับ โดยมีการท่องเที่ยวเป็นกลไกในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและพื้นที่
นอกจากพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น ปัจจุบัน อพท. ยังอยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ 5 ปี ให้กับพื้นที่พิเศษเดิมที่มีอยู่อีก 3 แห่ง ได้แก่ พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทอง โดยจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) อพท. เพื่อเห็นชอบก่อนนำเสนอต่อที่ประชุม ท.ท.ช. และ ครม. ตามลำดับ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2565 เพื่อบรรจุในแผนงบประมาณและแผนการทำงานให้ทันในปีงบประมาณ 2566 ตามที่นายอนันต์ ชูโชติ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) อพท. มอบหมายไว้ โดยก่อนหน้านี้ ท.ท.ช. ได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลยไปแล้ว 1 แห่ง ซึ่งทุกยุทธศาสตร์ในพื้นที่พิเศษของ อพท. จะเป็นแผนระยะ 5 ปี สิ้นสุดแผนในปี 2570 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่พื้นที่และชุมชน พร้อมกับเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวรองกับแหล่งท่องเที่ยวหลัก มุ่งสู่การกระจายรายได้ และการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
No comments:
Post a Comment