เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 – เวอร์ทูอาร์ช บริษัทสถาปัตยกรรมและจัดการโครงการสัญชาติสวิสที่มีประสบการณ์การทำงานในภูมิภาคเอเชียมามากกว่า 20 ปี ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “การออกแบบและข้อจำกัด – ข้อจำกัดช่วยทำให้เกิดความสร้างสรรค์ในงานสถาปัตยกรรมได้อย่างไร?” โดยงานสัมมนานี้ได้รับความร่วมมือจากหอการค้าเยอรมัน-ไทย (GTCC) และทวิภาคีอื่น ๆ ในประเทศไทย ภายในงานเหล่าสถาปนิก นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้าง ได้ร่วมพูดคุยกันว่าเพราะเหตุใด ข้อจำกัดมักจะถูกมองว่าเป็นอุปสรรค จึงถูกมองว่าเป็นข้อจำกัดเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับโครงการออกแบบที่นำไปสู่ความสำเร็จในการออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมได้ การสัมมนาในครั้งนี้นำโดยคุณเทอดสิทธิ หอประสาทสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวอร์ทูอาร์ช จำกัด ประเทศไทย ซึ่งคุณเทอดสิทธิ ได้มุ่งเน้นไปยังเหตุผลที่สถาปนิกและนักออกแบบจะต้องยอมรับในข้อจำกัด และข้อจำกัดถือเป็นเครื่องมือในการผลิตผลงานที่ล้ำสมัย ในขณะที่สามารถสร้างผลงานให้ตรงกับความต้องการได้อีกด้วย
เวอร์ทูอาร์ชมีความเชี่ยวชาญใน 4 สาขา คือ โครงการด้านการศึกษา (ตั้งโรงเรียนอนุบาล ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย) โครงการเชิงอุตสาหกรรม (โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ) โครงการเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม (คาเฟ่ บาร์ ร้านอาหาาร) และโครงการอาคารเชิงพาณิชย์ (พื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงาน) โดยโครงการเหล่านี้ สำหรับ VIRTUARCH แล้ว ข้อจำกัดถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเสมอ ตั้งแต่ข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่สัญชาติญาณบอกว่าข้อจำกัดเป็นตัวขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ แต่จากมุมมองของ VIRTUARCH นั้น ข้อจำกัดคือที่มาของการแก้ปัญหาแบบดั้งเดิม เช่น โครงการเชิงอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำเป็นต้องมีข้อจำกัดของการดำเนินงาน การประดิษฐ์ การกำหนดมาตรฐานของกระบวนการทำงาน ฯลฯ ซึ่งมักจะทำให้โครงการดังกล่าวขาดความโดดเด่นไป แต่สำหรับ VIRTUARCH แล้ว ข้อจำกัดเหล่านี้เป็นความท้าทายที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ทำให้บริษัทสามารถพัฒนาโครงการที่มีงบประมาณจำกัด แต่ด้วยการใช้ความคิดเชิงนวัตกรรมที่สามารถสร้างการออกแบบได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พร้อมกับความโดนเด่นเฉพาะตัว
แนวทางของบริษัทคือกาารเปิดรับข้อจำกัดทุกประเภท เพราะข้อจำกัดช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าข้อจำกัดเหล่านั้นจะเป็นด้านการเงิน กฎระเบียบ เวลา หรือข้อจำกัดที่มาจากการโจทย์ของลูกค้า ข้อจำกัดเหล่านี้จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่ง การมองโลกในแง่ดีของเวอร์ทูอาร์ชเกี่ยวกับข้อจำกัดได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนางานที่โดดเด่นและน่าประทับใจทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย และอาคารทั้งหมดของพวกเขามักจะตัวกำหนดมาตรฐานทั้งในเรื่องการออกแบบและตอบสนองความต้องการของลูกค้า
คุณเทอดสิทธิ หอประสาทสุข กล่าวว่า เขาชอบที่จะเริ่มกระบวนการพัฒนาโดยการระบุข้อจำกัด และเมื่อเขาสามารถสามารถระบุข้อจำกัดทั้งหมดภายในโครงการได้แล้ว จากนั้นจึงหาข้อจำกัดที่ใหญ่ที่สุด เมื่อความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชัดเจนแล้ว คุณเทอดสิทธิเปลี่ยนมันให้เป็นความขัดแย้งและพลิกปัญหากลับด้าน: “ผมต้องการนึกถึงผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดที่เราสามารถสร้างได้ ในขณะที่เรายังเคารพข้อจำกัดที่ใหญ่ที่สุดอย่างเต็มที่ คุณต้องให้ความสำคัญกับประเด็นหลักหนึ่งข้อ ไม่ว่าจะเป็นภูมิประเทศ หรืองบประมาณ แล้วคุณค่อยตัดสินใจเผชิญหน้ากับมัน หากคุณเอาชนะมันได้ ส่วนที่เหลือจะเข้าที่เข้าทาง คุณสร้างความคิดสร้างสรรค์ของคุณท่ามกลางข้อจำกัดนั้น ดังนั้นมันจึงไม่ใช่ขีดจำกัดของคุณ แต่เป็นแรงบันดาลใจของคุณแทน”
คุณเทอดสิทธิยังกล่าวอีกว่า “เสรีภาพที่สมบูรณ์แบบเป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์ โดยในความเป็นจริง การตั้งกฎเกณฑ์และข้อจำกัดในการทำงานภายในจะช่วยลดการตัดสินใจและทำให้โฟกัสได้ง่ายขึ้น และแทนที่จะทนทุกข์กับมัน ความคิดสร้างสรรค์ก็งอกเงยมากขึ้น หากไม่มีทิศทางหรือข้อจำกัดใดๆ เราก็จบลงด้วยความขัดแย้งกันระหว่างตัวเลือกต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลที่มากเกินไปจนไม่สามารถไปต่อได้ และความเหนื่อยล้าในการตัดสินใจ หากแต่ข้อจำกัดทำให้เรามีสมาธิมากขึ้น ถ้าวันหนึ่งคุณทำงานกับสถาปนิก จงให้ข้อจำกัดแก่เขาให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ นี่คือวิธีที่คุณสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เขา นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมาจากการถูกล้อมรอบด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ” คุณเทอดสิทธิ กล่าวปิดท้าย
VIRTUARCH เป็นบริษัทออกแบบและบริหารโครงการระดับนานาชาติที่ได้รับรางวัลมากมาย มีต้นกำเนิดจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีพนักงานมากกว่า 80 คน ทั้งในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้บริการด้านสถาปัตยกรรมและการจัดการโครงการในประเทศจีนและทั่วเอเชียมาเป็นเวลา 20 ปี ในทุก ๆ ขั้นตอนของการพัฒนาอาคาร ทีมงานที่มีความสามารถหลากหลายของ VIRTUARCH และแนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์โครงการต่าง ๆ ตามกำหนดเวลาและงบประมาณที่จำกัด
No comments:
Post a Comment