สสส.-ทส. เร่งบูรณาการภาครัฐ-เอกชน-วิชาการ-ประชาสังคม แก้ปัญหาฝุ่นขนาดเล็กPM2.5 17จังหวัดภาคเหนือ ชูต้นแบบ " ห้องเรียนสู้ฝุ่น " - All Miles

Breaking

Home Top Ad

Monday, December 13, 2021

สสส.-ทส. เร่งบูรณาการภาครัฐ-เอกชน-วิชาการ-ประชาสังคม แก้ปัญหาฝุ่นขนาดเล็กPM2.5 17จังหวัดภาคเหนือ ชูต้นแบบ " ห้องเรียนสู้ฝุ่น "


เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 ที่โรงแรมจามจุรีรีสอร์ท อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน และภาคีเครือข่าย จัดงานเสวนาห้องเรียนสู้ฝุ่นกับโอกาสและความท้าทาย โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคราชการ ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เข้าร่วมงาน


17 จังหวัดภาคเหนืออ่วม วิกฤตฝุ่น PM2.5 หนัก สูงเกินค่ามาตรฐาน 11 เท่า สสส.-ทส. เร่งบูรณาการภาครัฐ-เอกชน-วิชาการ-ประชาสังคม แก้ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก ทส. ชูต้นแบบ “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ของ สสส. แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน พร้อมผลักดัน สู่นโยบายระดับจังหวัด-ระดับชาติ ด้าน สสส. เดินหน้าขยายผล “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ตั้งเป้าต่อยอด 140 โรงเรียน ภายในปี 2565


ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า มลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยที่สะสมมานานกว่า 15 ปี พอหนาวมาความกดอากาศสูงมา คนทางเหนือโดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน เจอปัญหาตลอด ฝุ่น PM 2.5 เป็นเรื่องที่สร้างปัญหามาก โดยเฉพาะเดือนธันวาคม มกราคมจะหนักที่สุด สสส.มีหน้าที่สร้างต้นแบบ โรงเรียนปลอดฝุ่น จะทำอย่างไรกัน ถ้าปลอดฝุ่นไม่ได้เด็กจะปลอดภัยได้อย่างไร โดยหากระบวนการหาคู่มือหาเครื่องมือ ให้เด็กปลอดโรคปลอดภัย เรื่องฝุ่น PM 2.5 จะอยู่กับเราไปนาน เวลาอากาศหนาวมา ฝนกดดันลงมารอบบ้านยังเผาอยู่ เราหนีไม่พ้น  ทำอย่างไรให้ปัญหา น้อยที่สุด โรคที่มากับฝุ่น ตามมาอีกเยอะแยะมากมาย อยากฝากถึงทุกๆคน ว่าถ้าไม่จำเป็นอย่าเผา

จากข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพอากาศ เมื่อเดือนมีนาคม 2564 โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พบว่า ภาคเหนือทั้ง 17 จังหวัด ตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้สูงสุดอยู่ที่ 166 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่องค์การอนามัยโลกกำหนดที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กว่า 11 เท่า ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เร่งสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่คนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยพัฒนาโครงการสร้างองค์ความรู้สำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อการตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหา PM2.5 เกิดเป็นนวัตกรรม “ต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น” ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แพร่ และแม่ฮ่องสอน รวม 30 โรงเรียน ในปี 2563


“ผลการดำเนินงานโครงการ ห้องเรียนสู้ฝุ่น ถือว่าประสบความสำเร็จในการให้ความรู้และตระหนักถึงปัญหา ต่อยอดไปสู่การสร้างความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ปัญหาการเผาในที่โล่งหรือจุดความร้อนสะสมลดลงในพื้นที่ดำเนินการ 3 จังหวัด ได้แก่ 1.แม่ฮ่องสอน พบจุดความร้อนสะสม 1,497 จุด ในปี 2563 ลดเหลือ 1,273 จุด ในปี 2564 2.เชียงราย พบจุดความร้อนสะสม 944 จุด ในปี 2563 ลดเหลือ 251 จุด ในปี 2564 และ 3.แพร่ พบจุดความร้อนสะสม 429 จุด ในปี 2563 ลดเหลือ 234 จุด ในปี 2564 สสส. จึงเร่งขยายผลโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่นในพื้นที่เสี่ยงอีก 110 แห่ง ภายในปี 2565 รวมเป็น 140 แห่งทั่วประเทศ โดยให้ความสำคัญกระบวนการสร้างความร่วมมือในพื้นที่ ทั้งภาคนโยบาย ประชาสังคม เครือข่ายนักวิชาการระหว่างประเทศ เอกชน และการสื่อสารสาธารณะ ร่วมกันพัฒนาระบบฐานข้อมูล ส่งต่อองค์ความรู้ และส่งต่อเสียงของเด็กและเยาวชนแก่สาธารณะ (Micro influencer) เพื่อสร้างพลังการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนในสังคม ลดมลพิษทางอากาศจาก PM2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาวะของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.นพ.พรเทพ กล่าว


นายอรรถพล เจริญชันษา
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนของทุกปี เกิดจากสาเหตุสำคัญ 5 ข้อ ดังนี้ 1.แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่ระบายมลพิษเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ 2.การเผาในที่โล่งจากการเกษตร 3.การบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานและทันต่อสถานการณ์ 4.ข้อจำกัดด้านข้อมูลวิชาการเพื่อการบริหารจัดการ และ 5.ประชาชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ดังนั้น การขยายผลต้นแบบ “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ของ สสส. ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์บริบทและเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละชุมชน และท้องถิ่น รวมถึงสนับสนุนการขับเคลื่อนงานรับมือด้านสุขภาวะจากฝุ่นละอองขนาดเล็กสู่ระดับนโยบายของจังหวัดและระดับประเทศ ที่สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของกรมควบคุมมลพิษ


นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า บทบาทของสสส. เห็นถึงการแก้ไขปัญหาป้องกันสุขภาพ เป็นการทำงานร่วมกันกับกรมควบคุมมลพิษ กับภาคีวิชาการที่เกี่ยวข้อง ภาคนโยบาย เพื่อที่จะป้องกัน ปัญหาต้นทาง ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลต่อพวกเราเยอะมาก อัตราการตายด้วยมะเร็งปอด โรคทางเดินหายใจต่างๆ ส่งผลกับประเทศไทย อย่างรุนแรง ตัวเลขไม่ได้น้อยกว่าการสูบบุหรี่ บทบาทของสสส.ในอีก 10 ปีข้างหน้า มุ่งเน้น เรื่อง มลพิษจากสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยให้พวกเราอยู่ท่ามกลางอากาศ ที่เป็นพิษน้อยลง


ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล
ที่ปรึกษาโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น สสส. กล่าวว่า ห้องเรียนสู้ฝุ่นทั้ง 140 โรงเรียน ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 5 พื้นที่ ดังนี้ 1.ภาคเหนือตอนบน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน และพะเยา รวม 50 โรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านสภาลมหายใจภาคเหนือและสภาลมหายใจของแต่ละจังหวัด 2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น และอุดรธานี รวม 20 โรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3.โรงเรียนตามแนวชายแดนประเทศไทย-ลาว รวม 10 โรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านกลไกคณะกรรมการความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย–ลาว กองทัพภาคที่ 3 4.โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวม 50 โรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านสำนักการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 5.โรงเรียนนานาชาติ รวม 10 โรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านสถานกงสุลสหราชอาณาจักร จังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรมในวันนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติ เพื่อสร้าง การติดอาวุธให้กับชุมชน ให้กับคุณครูในโรงเรียน ในพื้นที่ที่เลือกมาในแผนที่ ที่เป็น Hotspot ผู้เข้าร่วม เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครูแต่ละโรงเรียน เข้าสู่การเรียนรู้จากโรงเรียนต้นแบบ จากโรงเรียนจังหวัดแพร่ 3 โรงเรียน เพื่อสื่อสารว่าทำอย่างไร ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ให้เข้าใจก่อนว่า PM 2.5 ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เข้าไปในร่างกายเรา อยู่ในเส้นเลือด ก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ครูจะต้องทำให้เด็ก รู้ว่า ถ้าเด็กไปที่ไหนก็ตาม ที่ไม่ใช่โรงเรียน เด็กจะต้องรู้ว่าอากาศแต่ละวัน เป็นอย่างไร ค่าฝุ่นเยอะแค่ไหน ถ้าวันไหนอากาศไม่ดีค่าฝุ่นเยอะต้องไม่ออกจากบ้าน ต้องดูแลตัวเองได้ และส่งต่อให้ครอบครัวได้ 




โรงเรียนที่มาร่วมกิจกรรม โรงเรียนที่ได้ที่ 1 ของจังหวัดแพร่ โรงเรียนบ้านแม่ปาน ได้ขยายผล เต็มจังหวัดแล้วด้วยตัวเขาเอง เริ่มต้นที่ 10 โรงเรียน ตอนนี้ได้ขยายผลไปทั่วจังหวัด ในการทำงานโดยชุมชน ของเขาเอง 
โรงเรียนบ้านปิน(ปินประชาราษฎร์)ใช้การศึกษาด้วยวิทยาศาสตร์ สมมุติคุณครูสอนเรื่องสิ่งมีชีวิต ไลเคนคือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่ใช้ตรวจสภาพอากาศ ใช้อ่านค่าฝุ่น ว่า วันนี้ค่าฝุ่นสีแดงแต่ทำไมไลเคนเป็นสีน้ำตาล เป็นการปรับ โดยการนำวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการดูค่าฝุ่นละอองในอากาศ 
อีกโรงเรียน เด่นเรื่องคณิตศาสตร์ จะให้เด็ก ไปดูค่าฝุ่นทุกวันแล้วจดเป็นสถิติ เอาวิชาคณิตศาสตร์เข้ามาใช้ให้เด็กทำกราฟ อ่านค่า X Bar มาดูแนวโน้มว่าจะเป็นยังไง


นายจีรพงษ์ สนิท
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านก้อจัดสรร อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กล่าวว่า โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร มีเด็กนักเรียนและครู 272 คน ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านก้อในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เป็นพื้นที่ล้อมรอบด้วยป่าและภูเขา ปัญหา PM2.5 ในพื้นที่ส่วนใหญ่จึงเกิดจากไฟไหม้ป่า ที่ผ่านมาโรงเรียนได้จัดตั้งคณะกรรมการนักเรียน เพื่อตรวจดูตัวเลขค่าฝุ่นในแต่ละวัน หากพบค่าฝุ่นอันตรายทำให้ต้องหยุดการเรียนการสอนทันที การเข้าร่วมโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่นในครั้งนี้ ทางโรงเรียนได้เพิ่มกิจกรรม “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” เสริมหลักสูตร การเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่อขยายผลให้เด็ก ๆ มีความรู้สามารถอ่านค่าจากเครื่องวัดค่าฝุ่น และติดธงสีต่าง ๆ และมีวิธีจัดการตัวเอง โดยงดกิจกรรมกลางแจ้ง และนำความรู้เรื่องการไม่เผาในที่โล่งส่งต่อผู้ปกครอง แนะนำการกำจัดวัชพืชด้วยการหมักทำปุ๋ยทดแทนการเผา เพื่อป้องกันการเกิดฝุ่นควันในพื้นที่




No comments:

Post a Comment

Pages