ปลุกกระแสเลี้ยงไก่ปล่อย หรือ "แม่ไก่อารมณ์ดี" หันมาบริโภคไข่ไก่ไร้กรง เพิ่มคุณภาพชีวิตต่อผู้บริโภค - All Miles

Breaking

Home Top Ad

Monday, January 24, 2022

ปลุกกระแสเลี้ยงไก่ปล่อย หรือ "แม่ไก่อารมณ์ดี" หันมาบริโภคไข่ไก่ไร้กรง เพิ่มคุณภาพชีวิตต่อผู้บริโภค


ในโอกาสครบรอบ 60 ปี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ ร่วมมือกับ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ภายใต้หัวข้อ " เขาใหญ่ไปทางไหนดี " ในวันที่ 22-23 มกราคม 2565 ณ ลานเวที ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในงาน " 60 ปี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มรดกไทย มรดกโลก "


ในส่วนของกิจกรรมเสวนาในวันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2565 จัดขึ้นเวลา 10.00 - 12.00 น. ภายใต้หัวข้อ มองอย่างไรเพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อ “ Good Food For All ” ดำเนินรายการโดย นางสาวพันชนะ วัฒนเสถียร นายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ และร่วมพูดคุยโดย นพ.วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการบริษัท คะตะลิสต์ จำกัด และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคติดเชื้อ นายเขมรัช อมรวัตพงศ์ Project Manager โครงการ Investing in Others in Southeast Asia, World Animal Protectionและผู้ก่อตั้ง Good Mission นายนรินทร์ ปราณีกิจ  สมาคมเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย นายวิโรจน์ อรุณพันธุ์ ประธานชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารอำเภอปากช่อง และนายอดิศักดิ์ ภูสิทธิ์วงศานุยุต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


นพ.วัชระ พุ่มประดิษฐ์
ผู้อำนวยการบริษัท คะตะลิสต์ จำกัด และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคติดเชื้อ กล่าวว่า

" ทำไมต้องไข่ไก่ไร้กรง "

ด้วยความตื่นตัวของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ไม่เพียงแต่ต้องการบริโภคอาหารเพื่อความอร่อยและคุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น แต่เรียกร้องที่มาของอาหารที่ผ่านการผลิตที่เป็นธรรมทั้งต่อแรงงาน มีจริยธรรมต่อสัตว์ และมีความเคารพต่อธรรมชาติ

ไข่ไก่ที่เราคุ้นเคย ได้มาจากการเลี้ยงแบบกรงตับ (battery cage) ซึ่งเป็นการทรมานสัตว์มากที่สุดรูปแบบหนึ่งในปศุสัตว์ นั่นคือ บังคับให้แม่ไก่อยู่แต่ในกรงแคบ ๆ แออัด ถ้าเปรียบกับคนก็คือการจับคน 32 คนยัดเข้าไปอยู่รวมกันในคอนโดขนาดสตูดิโอ 28 ตารางเมตร

" แม่ไก่ขยับตัวแทบไม่ได้
ไซร้ขนไม่ได้ คลุกทรายไม่ได้ 
ไม่มีโอกาสแสดงออกซึ่งพฤติกรรมตามธรรมชาติ "

ระบบกรงตับนี้นอกจากจะเป็นการทรมานเพื่อนร่วมโลกแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วย เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะแบบหว่าน (antibiotic prophylaxis) เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากความเครียดของแม่ไก่ นำไปสู่ปัญหาการดื้อยาอย่างรุนแรง องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations; FAO) พบว่า 2 ใน 3 ของยาปฏิชีวนะทั่วโลกถูกใช้ในระบบอุตสาหกรรมปศุสัตว์


นอกจากนั้นการเลี้ยงแบบกรงตับที่แออัด เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด (Pandemic) เช่น โรคหวัดนก ที่เป็นเสมือนระเบิดเวลาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของผู้คน และความล่มสลายทางเศรษฐกิจอย่างที่เราต้องเผชิญกันในปัจจุบัน

ปัจจุบันได้เกิดกระแสการปฏิเสธไข่ไก่ที่เลี้ยงด้วยกรงตับ และเริ่มหันมาบริโภคไข่ไก่ไร้กรง (cage-free eggs) หรือ แม่ไก่อารมณ์ดีกันทั่วโลก การเลือกซื้อไข่ไก่จะช่วยให้ทั้งแม่ไก่ และมนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านค้าปลีก โรงแรม บริษัทอาหาร องค์กร โรงพยาบาล และผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็สามารถเปลี่ยนระบบการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ยุติธรรมนี้ ไปสู่การผลิตอาหารที่มีจริยธรรม ทั้งต่อสัตว์และมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่ของเราทั้งหมดในโลกนี้เป็นไปด้วยความสุขและสมดุลอย่างแท้จริง




No comments:

Post a Comment

Pages